Introducing project Kyou

ในบล็อคตอนนี้พักเรื่องอนิเมะและเรื่องดองบล็อคมาถึงอะไรที่มีสาระกันบ้างครับ ก็จะขอแนะนำ project NSC ประจำปี 2013 ครับ “project Kyou”

*(blog post นี้เขียนไว้ล่างหน้าประมาณครึ่งเดือนก่อน publish)*

project Kyou คืออะไร? อันนี้ผมคงโยน teaser ไปมากพอสมควรแล้ว แต่เพื่อป้องกันไม่ให้คู่แข่งที่อาจจะเอาไปวิเคราะห์อะไรได้ เลยปิดข่าวไว้ให้มากที่สุดครับ

เคยอ่านคออนิเมะไหมครับ? คออนิเมะทั้งสองเล่ม ผมโค้ดมือทั้งเล่มครับ ผมเคยคิดว่าห้ามทำระบบออโต้เด็ดขาด เพราะมันจะจำกัดความคิดสร้างสรรค์ให้อยู่ได้แค่ที่ระบบทำได้ แต่พอขึ้นเล่มต่อมาเข้าจริงผมพบว่ามันจะเริ่มเบื่อและขี้เกียจ ใช้วิธีเขียนที่ง่ายขึ้น ทำให้คุณภาพมันตก

อีกส่วนคือทางด้าน NSC ผมวางแผนและประกาศไปแล้วว่าผมจะเอา menome ลง ผมมองแล้วว่ามันจะไม่ได้ที่ 1-3 แน่นอนเพราะ social impact ต่ำ แต่มันไม่ต้องเขียนใหม่และพัฒนามาเป็นปีแล้ว แต่คนที่ทำอีกคนหนึ่งคือ Fantasier ซึ่งอยู่คนละโรงเรียนบอกว่าไม่ลงด้วยและให้เงินรางวัลไปได้เลย ผมก็เลยตะขิดตะขวงใจ ก็เลยตัดสินใจว่าจะทำระบบสร้างคออนิเมะสำเร็จรูป ก็เป็นที่มาของ project Kyou

ทีนี้มันจะมีสองประเด็นที่ผมก็คิดต่อออกไป (ผ่านการสนทนากับหลายท่านทาง Twitter)

1. สังเกตว่า NSC มี “โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้” แต่เอาเข้าจริงแล้วไม่ใช้แฟลชก็ RPG Maker อะไรประมาณนี้ มันกลายเป็นว่าเราตกอยู่ภายใต้เครื่องมือของต่างประเทศ แต่ไม่ค่อยมีใครคิดเครื่องมือเข้ามา
2. อันนี้ผมไม่ค่อยมั่นใจในข้อมูล แต่เหมือนหมวดโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ จะต้องส่งด้วยโปรแกรมที่มีเนื้อหา โปรแกรมผมไม่มีเนื้อหา คนใช้อยากสร้างเรื่องอะไร ใส่เข้าไปได้เลย เพียงแต่ว่าผมเอาคออนิเมะเป็นเครื่องทดสอบว่ามันสามารถทำได้จริง ถ้าอยากทำอย่างอื่นนอกเหนือ อาจจะประยุกต์ได้ หรือเขียนต่อเพิ่มไปก็ได้ ผมก็ไม่แน่ใจว่าโปรแกรมไม่มีเนื้อหามันไม่ใช่ “ส่งเสริมการเรียนรู้” ยังไง (เท่าที่ดูกติกาแล้วไม่ได้มีคะแนนอะไรเฉพาะนะครับ แต่ผมไม่กล้าเสี่ยงเพราะเป็นปีสุดท้ายในระดับมัธยม และยังไม่เคยเห็นคนอื่นส่งอะไรที่ไม่มีเนื้อหาลง จะไปลงโปรแกรมประยุกต์เอาซะมากกว่า)
3. (ประเด็นที่แล้วไม่นับ) ตอนนี้ Tablet ป. 1 กำลังเป็นกระแสนิยม และระบบ content ไม่ดี คือผมเพิ่งรู้ไม่นานเนี่ยครับว่าไอ้ที่เห็นมันทำฟรี แต่ตัว learning object ที่อีกกลุ่มทำ อันนี้ไม่ทราบรายละเอียด ผมเชื่อนะครับว่า คนเดียวที่อ่านเกมออกคือ Apple ที่ออก iBooks Author มา เพราะเราไม่ได้ต้องการ video เปิดสอนให้นักเรียนนะคะนี่คือแบบเรียนวิชาภาษาไทย อันนี้สำหรับชั้นป. 1 ทำได้ แต่ในระยะยาวแล้ว สิ่งที่ควรมีคือ content platform ที่ครูสามารถผลิตผลงานได้เอง

หลังจากผมพอได้ไอเดียการออกแบบโปรแกรมในหัวแล้ว ก็ตาม flow มาตรฐานครับ คือผมต้องปรึกษาโคช (คุณพ่อ) ก่อนว่าโอเคมั้ย พ่อฟังผมอธิบายแล้วยังไม่เห็นภาพในหัว เลยบอกว่าอยากให้มัน drag & drop ได้เลย (ซึ่งจริงๆ อยู่ในแผนแล้ว) ตอนนั้นผมก็แย้งไปแล้วก็จัดการทำโดยไม่สนใจอะไร

ถัดมา ก่อนเริ่มโครงการ ผมต้องเลือกชื่อโครงการครับ ก็จะมีหลายชื่อที่คิดเอาไว้ (ซึ่งมาจากอนิเมะ เหมือนเป็น naming scheme ผมแล้ว เพราะว่าตั่้งชื่อลอยๆ มันน่าจะดู geek ไป) เช่น menma (Ano Hana), akira (พระเอก EOTE), alice (นางเอก Kamisama no Memochou แต่ชื่อนี้ผมใช้เป็น database server แล้ว), kirino (oreimo), kurisu (Steins;Gate), mirai (TM8.0) แล้วก็ตัดสินใจไม่ได้จนนอน วันต่อมา ผมตื่นมาคิดว่าเลือก Kyou (Clannad) เพราะไม่มีอยู่ในรายชื่อแรก (surprise!)

ถ้ายังจำภาพเปิดตัวได้นะครับ เคียวปาหนังสือโดดถีบใส่ซุโนฮาร่า สโลแกน Kickass. Flying Books. มันเป็นภาพที่ผมนึกขึ้นมาตอนเลือกชื่อโครงการ และสโลแกนมันก็เหมือนจะตรงตามภาพ แต่ความหมายที่จะสื่อก็คือมันเจ๋ง (Kickass) และมันปฎิวัติหนังสือ (Flying books) สำหรับ slogan ที่ใช้แบบเป็นทางการผมก็จะใช้ว่า Books. Made interactive.

พาร์ทต่อไปที่จะเขียน จะขอเล่าถึงประวัติการพัฒนาตั้งแต่ต้นเลยนะครับ ไม่รู้ว่าจะจบกี่ part ผมถึงจะเบื่อ