Hostname

วันก่อนแนะนำน้องชินไปว่าที่เห็นเราตั้งชื่ออะไรเป็นตัวละครจากอนิเมะเนี่ย มันมีที่มาที่ไป ไม่ได้ตั้งมาลอยๆ ก็เลยว่าจะเขียนบล็อคสักหน่อยจะได้นึกออกว่าตัวอะไรใช้ไปแล้วบ้าง เพราะอะไร

ระวังสปอยเรื่องต่อไปนี้: Clannad ~After Story~, Eden of the East, Sword Art Online, Madoka Magicka

Hardware

ผมไม่เปลี่ยน hostname เดิม คือ format เครื่องแล้วถึงจะใช้ hostname ใหม่

ushio

Okazaki_ushio

ushio เป็นชื่อเครื่อง 2011 MacBook Pro ส่วนตัวของผม เหตุผลที่ใช้ชื่อนี้ก็เพราะว่าอุชิโอเป็นบุคคลที่รักที่สุดของนางิสะและโอคาซากิ (Clannad ~After Story~)

tomoka

Tomoka

ช่วงน้ำท่วมผมพยายามจะ reclaim เครื่องมาทำคลัสเตอร์บาสโลลิ แต่ผมจำไม่ได้ว่าเครื่องไหนชื่ออะไรบ้าง ก็มีโทโมกะที่เป็นเครื่อง Desktop PC ตัวสุดท้ายของผม

ไม่มีเหตุผลเป็นพิเศษในการตั้ง คืออยากได้คลัสเตอร์บาสโลลิแค่นั้นแหละ อิอิ

yui

Yui_pixie

Nexus 4 ของผมใช้ hostname ว่า yui ยุยในที่นี้ไม่ใช่ฮิราซาว่า ยุยจากเคอง แต่หมายถึง AI ใน Sword Art Online

เหตุผลที่ใช้ชื่อยุยเพราะยุยเป็นพิกซี่ตัวเล็กสารพัดประโยชน์

ichika

Takatsuki.Ichika.full.961388

iPad ผมให้ชื่อว่า ichika จาก Ano Natsu de Matteru พอดีตอนตั้ง hostname เพิ่งดูจบ และมันคือเพื่อนรักจากต่างดาว (ผลไม้)

mirakurun

miraku-run

ที่บ้านมี Network Printer ตัวนึงครับ เลยให้ชื่อมันว่ามิราคุรุนจาก Yuru Yuri เผื่อจะได้กระดาษติดน้อยลง (ถึงวันนี้มัน Jam มาแผ่นเดียว)

ผลปรากฏว่าพ่อบ่นเพราะสะกดมิราคุรุนไม่ถูก :/

Virtual Machines

madoka

Screen Shot 2556-04-19 at 5.39.16 PM

มาโดกะเป็นเครื่องแรกในซีรีส์โฮสต์เนมอนิเมะของผม และเป็นเครื่องที่รันบล็อคนี้ด้วย

เหตุผลที่ตั้ง เอ่อ ไม่รู้สิ ตอนนั้นเพิ่งดูมาโดกะจบละมั้ง

homura

Screen Shot 2556-04-19 at 5.41.16 PM

โฮมุระเป็นเครื่องที่สองในคลัสเตอร์มาโดมากิที่อยู่เบื้องหลัง menome จริงๆ แล้วโฮมุระใช้มาแล้วสามเครื่อง สองเครื่องแรกอยู่บน EC2 แล้วผมทำ key หาย เลยต้อง rebuild เป็นตัวที่สอง และเครื่องปัจจุบันที่บริจาคมาโดยทีม alive.in.th

โฮมุระเป็นผู้ปกป้อง (?) มาโดกะ

Reclaimed

โฮสต์เนมพวกนี้เคยใช้แล้ว แต่ว่าเลิกใช้ไปแล้ว เพื่อป้องกันการหมดมุกผมจึงอาจจะนำกลับมาใช้ใหม่

micchon

Micchon

มิชชอนเป็นเด็กหญิงผู้สร้างโปรแกรม Eden of the East แน่นอนว่าโปรแกรมเมอร์ก็ต้องเป็นคนพูดน้อยๆ​ (แต่ห้ามเรียกว่ามิตันเชียวล่ะ)

VM micchon รัน Debian 6.0 GNOME ใช้ในงาน NLC12

ผมเสียดาย wallpaper นั่งทำรูปมิชชอนมองโลโก้เดเบียน

alice

Kamisama-no-Memochou-OP1

Alice เป็น VM ที่ควบคุมโดย OvzCP ใช้เป็น database server

นักสืบนีทอลิซ หรือ ยูโกะ ชิองจิเป็นแครกเกอร์ ผู้พูดแทนคนตาย จาก Kamisama no Memochou

saizo

519255-e36

saizo เป็น​ VM ที่ใช้ทดลอง Riak database server (ซึ่งสุดท้ายแล้วผมไม่ได้ใช้)

Saizo Ato จาก Eden of the East เป็นเจ้าของสถาบันวิจัย ATO ที่พัฒนาโปรแกรมลบความทรงจำ ระบบ Juiz และเป็นเจ้าของเกม Selecao

Project names

Kyou

578781_311536325585842_1836507294_n

ผมเรียก Kyou ว่ามันคือโปรเจกท์อนิเมะที่ได้รางวัลระดับประเทศ Kyou เป็นโปรแกรมพัฒนานิตยสาร HTML5 ที่ใช้ทำ CoreAnime และได้รับรางวัลที่ 1 จากกการแข่งขัน NSC15 รวมทั้งถ้วยพระราชทาน

เหตุผลที่โครงการมันชื่อ Kyou ก็เพราะรูปด้านบนนี่ล่ะครับ

ฟูจิบายาชิ เคียว เป็นผู้ปาหนังสือใส่ซุโนฮาร่า และครูอนุบาลของอุชิโอะ

Sora

492113

Sora เป็น project NSC14 ที่ผมถอนตัวออกในรอบสองเพราะมัวแต่ทำ menome อยู่ เอนจิ้น Sora เป็นฐานของ menome engine (แต่ก็พัฒนาไปไกลมากจนไม่เหลือเค้าเดิม) และ Sora จะกลับมาใน project Chitanda

เหตุผลที่ใช้ชื่อโครงการนี้เพราะน้องคาซุกาโนะ โซระ (จาก Yosuga no Sora) ติดมือถือ ภาพนี้คือภาพเปิดตัวโครงการ

Chitanda

391386_476984755653351_1935834431_n

project Chitanda เป็นขั้นต่อไปของ project Kyou ที่จะมาเร็วๆ นี้

เหตุผลที่ใช้ชื่อนี้เพราะจิทันดะเป็นบรรณาธิการหนังสือ Hyouka

Kyou submodules

Kyou มีมอดูลย่อยหลายตัวครับ ก็เลยตั้งชื่อไว้เพราะว่าเรียก iImage แล้วทีมงานงง ในรุ่นที่ขายจะไม่ได้ใช้ชื่อพวกนี้

YbAfk

Fuko

(ไม่มีในภาพ) ฟูโกะเป็นมอดูลส่งออกข้อมูล รุ่นปกติชื่อ Distribution

“Starfish, for everyone!”

Nagisa

เดิมทีมอดูลนี้ชื่อ Tomoyo แต่เปลี่ยนชื่อเป็น Nagisa มอดูลนี้สำหรับแชร์งาน รุ่นปกติชื่อ Sharing

ชื่อนี้มาจากว่านางิสะเป็นประธานชมรม

Ryou

Ryou เป็นมอดูลสำหรับทำคาราโอเกะ (ที่เห็นในท้ายเล่ม CoreAnime 3) รุ่นปกติชื่อ Lyrics

ผมพยายามแถให้ลงมากๆ ว่าเรียวเป็นคนไปคุยกับชมรมขับร้อง จริงๆ คือผมอยากให้มันมีทั้ง Kyou-Ryou ในโปรแกรมอะนะ

Kotomi

Kotomi เป็นมอดูลสำหรับทำภาพ interactive

พ่อแม่โคโตมิเป็นผู้ค้นพบ String theory และตั้งชื่อลูกสาวไว้ว่าโคโตมิตามเครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องสาย ผมก็มองว่ามอดูลนี้เหมือนการโยงสายจากจุด hotspot ไปยังการกระทำ

Ushio

(ไม่มีในภาพ) อุชิโอะเป็นมอดูล version control สำหรับย้อนกลับไปใช้รุ่นเก่า

มอดูลนี้ผมเขียนโดยเปิด Clannad เทียบเอฟเฟกท์เลย เขียนเอฟเฟกท์อยู่สองวัน

ในรุ่นขายจะไม่มีภาพพื้นหลังแต่ยังมีลูกออร์บ และใช้ชื่อว่า Version Control

Botan

(ไม่มีในภาพ) โบตันเป็นลูกหมูป่าของเคียวที่มีบทแค่ว่า ปุฮิๆ

ในโปรแกรมมันคือมอดูลคล้ายๆ command line input รุ่นขายเรียกว่า Quickly

เหตุผลที่เรียกมันว่าโบตันก็เพราะว่ามันป้อนคาถาเข้าไปทีละคำสั้นๆ